วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วัน/เดือน/ปี 27/ก.ย./2556

ครั้งที่14    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10                   
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                 ในการเรียนการสอนของอาจารย์วันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน"เขียนความรู้ที่ตอนเองได้รับ"  จากการเรียนวิชานี้  ว่าได้ความรู้อะไรบ้าง  ดังรูปภาพข้างล่างนี้เลยค่ะ



ขอขอบคุนอาจาย์ตฤณ  ที่มอบความรู้ดีดีให้แก่ดิฉันและเพื่อนนักศึกษาทุกคน ค่ะ :)

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


วัน/เดือน/ปี 20/ก.ย./2556


ครั้งที่14    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10                   
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                  ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
เพื่อทำแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม  ซึ่งกลุ่มดิฉันก็ได้ทำแผนการสอนเกี่ยวกับผีเสื้อ
ซึ่งเกี่ยวกับวัฏจักรของผีเสื้อ 



       
ทุกคนร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำงานมากๆ ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วัน/เดือน/ปี 13/ก.ย./2556


ครั้งที่14    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10                   
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40

                 ในการเรียนการสอนของอาจารย์วันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาคิดจัดทำมุมของตัวเอง ตามในฝัน โดยให้ออกแบบโดยการวาดภาพ

ตัวแทนนำเสนอของกลุ่

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


วัน/เดือน/ปี 06/ก.ย./2556


ครั้งที่11    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10                   เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40

              ในการเรียนการสอนของอาจารย์วันนี้อาจารย์สอนเรื่องมุมการศึกษา  

 การจัดมุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และทักษะทางภาษา- มุมหนังสือ- มุมบทบาทสมมุติ- มุมศิลปะ- มุมดนตรี
ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียน-  มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรม-  เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม-  บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณืเครื่องเขียน-  เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนออกแบบ

              จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาคัดลายมือตามแบบที่อาจารย์ได้ให้ไว้


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วัน/เดือน/ปี 30/ส.ค./2556

ครั้งที่11    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10  
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                  ในการเรียนการสอนของอาจารย์วันนี้  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสื่อเกี่ยวกับภาษามากบุ่มละ  1  สื่อ  อะไรก้อได้ตามความคิดของพวกเราเลย  ตามภาพข้างล่างนี้เลย


สื่อทายสิฉันกินอะไร สื่อนี้ก็จะสอนเด็กๆให้รู้ว่าสัตว์ชนิดไหนกินอะไรเปนอาหาร  
แล้วเด็กก็จะสามารถจับความสัมพันธ์กันได้  เด็กสามารถออกเสียงอ่านชื่อสัตว์และอาหารของสัตว์
เพื่อเปนการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเด็กๆไปด้วย


เพื่อนกลุ่มของกลุ่มของดิฉัน


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


วัน/เดือน/ปี 23/ก.ค./2556

ครั้งที่11    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10  
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


 สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

     คือ  เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับตัวเด็ก คือการที่เรียนรู้จากประสาทสัมผัส จับต้องได้หรือของจริง เพราะเด็กในวัยนี้เข้าใจในรูปธรรมจะทำให้เข้าใจง่ายและจำได้นาน

      ประเภทของสื่อการสอน
- สื่อสิ่งพิมพ์  สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับการพิมพ์  เช่น นิทาน หนังสือพิมพ์
- สื่อวัสดุอุปกรณ์  สิ่งของต่างๆที่เป็นของจริงหรือหุ่นจำลอง
- สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สิ่งที่นำเสนอผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
- สื่อกิจกรรม ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ  การเผชิญ  สถานการณ์นั้นๆ
- สื่อบริบท ส่งเสริมการจัดประสบการณ์






วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


วัน/เดือน/ปี  16/ก.ค./2556

ครั้งที่10    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10  
                 เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มช่วยกันทำสื่อกันซึ่งแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันไป  ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ระบายสีรูปที่เกียวกับนกฮูกแล้วได้ติดธงชาติเกี่ยวกับประเทศอาเซียน  และได้เขียนคำกล่าวคำขอโทดขอแต่ละประเทศไว้ด้วย 





วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


วัน/เดือน/ปี  08/ก.ค./2556

ครั้งที่9    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10  
               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


              ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันแต่งนิทานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งช่วยกันคิดแล้วให้ตัวเอกของนิทานเรื่องนี้คือกระต่าย  แล้วหลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มกัน  เพื่อที่จะประดิษฐ์หนังสือ BIGBOOK โดยจะให้แต่ละกลุ่มเลือกกันว่าจะทำในหน้าไหน เช่นกลุ่มดิฉันได้ทำในเนื้อเรื่องที่ว่า "น้องแย่งแครอทพี่ พี่เลยให้น้องและยอมน้องเสมอเพราะเชื่อในคำสอนของพ่อแม่"  



                                      







วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วัน/เดือน/ปี  02/ก.ค./2556

ครั้งที่6    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 

               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


              **** ไม่มีการเรียนการสอน เพราะทำการสอบกลางภาค****

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วัน/เดือน/ปี  26/ก.ค./2556

ครั้งที่6    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 

               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


              ในการเรียนการสอนของวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวาดรูปที่ตัวเองชอบมากที่สุด  ซึ่งเปนรูปอะไรก็ได้  ตามความคิดของเราแล้วให้เอารูปของทุกคนๆไปเป็นสว่นหนึ่งในการเล่าประกอบนิทาน  โดยเล่าต่อๆกันให้เปนเรื่องราว  เป็นกิจกรรมที่สนุกมากๆเลย





                 และได้เข้าสู่บทเรียน วันนี้ได้เรียนเรื่อง  "การประเมิน"

1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2.เน้นความก้าวหน้าของเด็ก
 -บันทึกความก้าวหน้าของเด็ก
 -บันทึกในสิ่งที่เด็กทำได้ หากเด็กเขียนไม่ได้เราก็ไม่ต้องบันทึก   เราควรเน้นที่เด็กปฏิบัติได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย เช่น เด็กบางคนคุยกับเพื่อนเก่ง แต่อาจจะไม่คุยกับผู้ใหญ่
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เช่น เด็กทำงานเราก็ควรนำผลงานของเด็กมาโชว์ และโชว์ทุกคน และ
    ต้องนำมาโชว์ทุกๆครั้ง เพื่อให้เขาเห็นว่าตนเองงมีพัฒนาการเช่นไร ต่างกับเพื่อนอย่างไรบ้าง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการทำงานและชิ้นงาน เช่น เด็กได้มีการวาดภาพ และพูดสื่อถึงภาพนั้น
   ว่าเป็นภาพอะไร
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล เนื่องจากเด็กมีความมแตกต่างกัน ไม่ควรประเมินภาพรวม จึงจะทำให้เรา
    สามารถส่งเสริมเด็กได้ดีและมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
กิจกรรมนิทานการเล่าไปวาด เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้คิด  เมื่อเราเล่าแล้วรอบหนึง แล้วก็ให้เด็กเล่าและวาดพร้อมไปกับครูและเพื่อนๆ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วัน/เดือน/ปี  19/ก.ค./2556

ครั้งที่6    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
                เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40

                 ในการเรียนการสอนของวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องภาษาธรรมชาติ
                 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

        การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )
        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ
        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา
        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน 

                การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
                
 การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน



              1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่นๆที่อาจจัดไว้ ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก ฯลฯ 
             2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
             บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
             นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ ดังนี้
             1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนด้วยการอ่านและการเขียนอย่างมีความหมายจริงๆ
             2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการและใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง
            3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือมากขึ้น

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วัน/เดือน/ปี  12/ก.ค./2556

ครั้งที่5    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
                เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                ในการเรียนการสอนของวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดภาพสิ่งที่ตัวเองรักมากที่สุดในชีวิต ซึ่งดิฉันก็ได้วากรูป ชุดนอน



               องค์ประกอบทางด้านภาษา
1.  Phonology
     -  คือระบบเสียง
     -  เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
     -  หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.  Semantic
     -  คือความหมายภาษาและคำศัพท์
     -  คำศัพท์บางคำสามารถมีหลากหลายความหมาย
     -  ความหมายอาจจะเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ที่ต่างกัน
3.  Syntax
     -  คือไวยากรณ์
     -  การเรียงรูปประโยค
4.  Pracmatic
     -  การนำไปใช้
     -  ใช้ให้ถูกต้องตามสถานะการณ์และเทศกาล
               
            แนวคิด
1.  แนวคิดของกลุ่มพฤษติกรรมนิยม
ทฤษฎีของ สกินเนอร์
     -  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
     -  ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
สกินเนอร์  ได้ทำการทดลองโดยการใช้หนูในการทดลอง  ใส่ไว้ในกล่องโดยที่เขาไม่ให้อาหารเรย  แล้วจะมีคานไว้  เมื่อหนูแตะคานอาหารก็จะตกมา  ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้
ทฤษฎีของ  John  B.  Watsan
     -  วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
     -  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤษติกรรมที่พึงประสงค์ทุกฟฤษติกรรมได้
2.  สติปัญญา

Piaget  ได้กล่าวไว้ว่า
     -  เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     -  ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญของเด็ก

Vygotsky
     -  เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     -  สังคม และบุคคลรอบข้าง  จะมีผลต่อการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
     -  จะเน้นบทบาทของผู้ใหญ่  ซึ่งเมื่อผู้ใหญืทำอะไรเด็กก็จะจำและนำกลับไปทำตาม
     -  ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

3.  แนวคิดทางด้านร่างกาย


Annold  Gesell

    -  เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
    -  ความพร้อม  วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
    -  เด็กบางคนจะมีควมาพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
    -  เด็กบางคนมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.  แนวคิดกลุ่มที่ชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด


Noam  Chomsky

    -  ภาษาเป็นกระบวการนที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
    -  การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
    -  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ทางภาษามา  ตั้งแต่เกิด

LAD ( Language  Acquisition  Pevice)

O. Hobart  Mowrer
    -  คิดค้นทฤษฎีการพึงพอใจ
    -  ความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินในการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง  เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางด้านภาษา

             แนวคิดทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา

    -  เป้นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
    -  นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแต่กต่างกัน

Richard  and  Rodger  1995  แบ่งเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้


1.  มุมมองด้านโครงสร้างทางภาษา

    -  นำองค์ประกอบย่อยมาใช้ในการสื่อความหมาย

2.  มุมมองด้านหน้าที่ทางภาษา

    -  เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
    -  จัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
    -  ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์

3.  มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์

    -  ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
    -  แบกเปบี่ยนปรสบการณ์
    -  เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านในการใช้ภาษา



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วัน/เดือน/ปี  05/ก.ค./2556

ครั้งที่4    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
                เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


                 ในวันนี้ได้มีการรายงานในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
                 
                 กลุ่มที่ 1 ได้รายงาน เรื่อง ภาษา  มีเนื้อหาดังนี้                 
                 ความหมายของภาษา  คือ  ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
                 ความสำคัญของภาษา  
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
2. ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน  การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3. ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย  เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
4. ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์  ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม  กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา  เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น  จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
5. ภาษาเป็นศิลปะ  มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา  กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน  เช่น  บุคคล  กาลเทศะ  ประเภทของเรื่องฯลฯ  การที่จะเข้าใจภาษา  และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
* จากการที่ได้ดูวิดิโอ สรุปได้ว่า เด็กบางคนจะพูดดังพูดเบา เด็กบางคนจะกล้าแสดงออก บางคนก็ไม่กล้าแสดงออก  และเด็กบางคนก็จะกล้าทำก็ต่อเมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนๆ ของเขา

      กลุ่มที่ 2 ได้รายงาน เรื่อง  แนวคิดของภาษา
     เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียนจบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตววิทยา หลังจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานกับนายแพทย์บีเนต์และซีโม ซึ่งเป็นผู้สร้างข้อสอบเชาวน์ เพียเจท์พบว่าคำตอบของเด็กเล็กกับเด็กโตจะตอบไม่เหมือนกัน และสรุปได้ว่า คำตอบของเด็กวัยต่างจะแตกต่างกันและไม่ควรด่วนสรุปว่าเด็กโตฉลาดกว่าเด็กเล็ก หรือคำตอบของเด็กเล็กจะผิดเสมอ
             จุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก โดยเริ่มจากลูกทั้ง 3 คนของพวกเขา เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน เพียเจต์ได้บันทึกและเขียนเป็นรายงานในการสังเกตของเขาไม่เฉพาะเป็นภาษฝรั่งเศษเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจยาก แต่เนื้อหาและสาระก็ทำให้เข้าใจยากเหมือนกัน ต่อมาได้มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น 
             เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้

  1. กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ
  2. การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  3. การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ
  1. การดูดซึม (Assimilation) และ
  2. การปรับความแตกต่าง (Accommodation)
               กระบวนการดูดซึม(หรือการรับรู้)จะเกิดขึ้นก่อน คือ เมื่อเด็กปะทะสัมพันธ์กับสิ่งใดก็จะดูดซึมภาพ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่เคยประสบ รวมรวบเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา (Cognetive Structure) และเมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมก็จะปรับตัว เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสติปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น แรกเริ่มเด็กเข้าใจว่าผู้ใหญ่ผมยาวและนุ่งกระโปรง แต่เมื่อเขาไปเจอผู้ชายผมยาวก็มีก็จะปรับโครงสร้างความเข้าใจอันนี้ใหม่                    กู๊ดแมน ( Goodman, 1986 อ้างถึงใน บังอร   พานทอง 2550 : 70 – 72) กล่าวถึงความหมายของการสอนภาษาแบบธรรมชาติว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการสอนภาษาอย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนจะอาศัยประสบการณ์ของตนเองประกอบการเรียน ไม่แบ่งแยกภาษาเป็นส่วนย่อย เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความกล้าและมั่นใจในตนเองในการที่จะใช้ภาษา ไม่เกรงว่าจะผิด ทั้งนี้เพราะผู้สอนไม่เน้นการลงโทษเมื่อเด็กใช้ภาษาผิด แต่พยายามชี้ให้เห็นข้อบกพร่องโดยทางอ้อม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ไขตนเอง


               กลุ่มที่ 3  ได้รายงาน  เรื่อง  พัฒนาทางสติปัญญา
              0-1 เดือน  ลูกกินนมแม่ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้อย่างเต็มที่
                2   เดือน  เริ่มทำเสียงอ้อแอ้  แสดงท่าทางดีใจเมื่อได้กินนม  เด็กจะเริ่มชันคอขึ้น  เมื่อควรอุ้มพาดบ่าหรือจับให้นอนคว่ำ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ได้เร็วขึ้น
               3  เดือน  ลูกเริ่มชันคอได้ตรง  แม่อุ้มลูกในท่านั่ง  กินนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว  ต้องระวังหากยังไม่สามารถสบตา  นอนคว่ำชันคอไม่ได้  ก็ควรพาไปพบแพทย์

              กลุ่มที่ 4 ได้รายงาน  เรื่อง  พัฒนาการด้านสติปัญญา  2- 4 ปี
              จีน  เพียเจต์  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก สรุปไว้ว่า เราไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กพัฒนาจากอีกขั้นไปอีกขั้น 
**จากวิดีโอ  เด็กจะมีปฏิสัมพันธุ์ที่จะสื่อสารโต้ตอบกับบุคคลแปลกหน้าและเพื่อนได้เป็นอย่างดี


             กลุ่มที่ 5 ได้รายงาน เรื่อง  พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
             เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-6 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก  ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กรับรู้ และชอบสังเกต  แลชอบถามว่า ทำไม และทำไม  เด็กจะชอบฟงคำพูด ของคุณพ่อคุณแม่
              พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปีบอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
  1. รู้จักเพศของตัวเอง
  2. ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
  3. เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
  4. เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
  5. ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
  6. คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
  7. มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
  8. ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
  9. สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
  10. สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก


             กลุ่มที่ 6  ได้รายงานเรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
             แนวคิดของทฤษฎี
 1.  สามารถเปล่ยนแปลงของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
 2.  ต้องอาศัยวุฒิภาวะ
             ความหมาย
คือ  การเปลี่ยนแปลงอันมีมูลมาจากการได้รับประสบการณ์และได้ปฏิบัติตนที่แตกต่างไปจากเดิม
             จุดมุ่งหมาย
- ด้านพุทธิพิสัย  เช่น สติปัญญา การเรียนรู้ การแก้ปัญหา
- ด้านเจตพิสัย    เช่น ความรู้สึกของแต่ละบุคคล
- ด้านทักษะพิสัย  เช่น  พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
            องค์ประกอบ
- แรงขับ  คือ จะเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
- สิ่งเร้า  เช่น  สื่อ  อุปกรณ์  ครูผู้สอน
-  การตอบสนอง  คือ  การเคลื่อนไหวของเด็ก  การพูด 
- การสร้างแรงเสริม  
            การนำไปใช้
***จากวิดีโอ  เด็กจะสื่อสารตามความเข้าใจของเขาเอง

            กลุ่มที่  7  ได้รายงานเรื่อง  วิธีการเรียนรู้
            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย            ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม            เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16)            เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ            1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ        2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น       2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป            4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้  

                กลุ่มที่  9  ได้รายงาน เรื่อง องค์ประกอบของภาษา




ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ1.  เสียง
นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
2.  พยางค์และคำ
พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น
“ ปา”พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
3.  ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
4.  ความหมาย
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน